ของ : ขวัญนุช บุญยู่ฮง
บทนำ
การทำวิจัยเพื่อนำไปปฏิบัติการการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยศึกษาจากกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เด็กจะต้องสามารถนับเลข รู้ค่าจำนวน จับคู่เปรียบเทียบ และเรียงลำดับได้ แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะกรณีนักเรียนชั้นอ.1 และสังเกตพฤติกรรมขณะการสอนของครู การสนทนาร่วมกับผู้ปกครอง พบว่า เด็กยังไม่มีทักษะคณิตศาสตร์ดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติ การนี้มาใช้ในการแก้ปัญหา โดยนำนิทานคณิตศาสตร์มาเป็นสื่อการเรียนการสอน เนื่องจากเนื้อหาวิชาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจไม่มีแรงจูงใจให้เด็กอยากเรียน นิทานจะช่วยให้เด็กได้เพลิดเพลินและเรียนรู้ไปด้วยความสนุกสนานและยังเป็นการสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้นิทานตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลา
วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มเป้าหมายของวิจัย
นักเรียนอนุบาล1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
2. แบบประเมินควาต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษณะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานจำนวน 18 แผ่น
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจักประสบการณ์
สรุปผลวิจัย
จากการศึกษาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ขอเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน "คณิต"
พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีในสำคัญทางสถิติระดับ .01 และยังพบว่าเด็กกลุ่มทดลองได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สัมพันธ์กับหนังสือสำหรับเด็กและช่วงเล่นอิสระได้เล่นกับสื่อวัสดุทางคณิตศาสตร์ที่ไม่สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ในหนังสือสำหรับเด็ก มีผลสัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างมีในสำคัญทางสถิติ โดยที่กลุ่มการทดลองมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม ในด้านการจำแนก การรวมกันของจำนวน เรื่องของรูปทรง และกลุ่มทดลองชอบเข้ามุมคณิตศาสตร์ เลือกทำงานด้านคณิตศาสตร์ และใช้เวลาในการทำกิจกรรมในมุมคณิตศาสตร์มากกว่ากลุ่มควบคุม