คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดี ที่ 20 ธันวาคม 2555


สรุปการเรียนการสอน

ไม่มีการเรียนการสอน 

       * เนื่องจาก เป็นวันสอบกลางภาค

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 13 ธันวาคม 2555

สรุปการเรียนการสอน

-  วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง คู่มือกรอบมาตรฐาน
    คู่มือ คือ  สิ่งที่บอกวิธีการ  ขั้นตอนหรืออธิบายรายละเอียดของการใช้
    งาน  และเป็นแนวทางในการปฏิบัติก่อนนำไปใช้งาน
    มาตรฐาน  คือ บ่งบอกถึงความมีคุณภาพ  น่าเชื่อถือ เป็นแนวทางใน
    การใช้งาน
    ดังนั้น คู่มือกรอบมาตรฐาน ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกความน่าเชื่อถือ
-   เครื่องมือในการเรียนรู้  คือภาษาและคณิตศาสตร์

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม 2555

สรุปการเรียนการสอน

-  อาจารย์ให้นักศึกษาเอากล่องมาคนละหนึ่งกล่อง  และกล่องที่นำมาเรา
   สามารถนำมาจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้  เช่น สอนเกี่ยวกับรูปทรง 
   จำนวน  ขนาดของกล่อง ฯลฯ  ถ้าเราจะนำกล่องมาสอนเด็กที่เกี่ยวกับ
   คณิตศาสตร์เราก็สามารถทำได้ดังนี้
      1. กล่องมีรูปทรงอะไรกันบ้าง
      2. ลองนับกล่องดูสิว่ามีกี่กล่องแล้วนำตัวเลขไปกำกับ 
      3. ลองเปลี่ยบเทียบกล่องสองใบดูสิว่าต่างกันอย่างไร  แล้วก็นำ
          เสนอออกมาเป็นรูปภาพและนำข้อมูลที่ได้มาเสนอเป็นกราฟ  หลัง
          จากนั้นก็จับคู่ 1ต่อ1กัน  ถ้าอันไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่าแต่
          ถ้าอันไหนหมดที่หลังแสดงว่าเยอะกว่า
     4. การจัดประเภทจะต้องมีเกณฑ์มากำหนด เช่น กล่องที่ใส่ของกินได้
     5. การทำตามแบบอาจจะให้เด็กเอากล่องมาวางแล้ววาดตามกล่อง
     6. เศษส่วนอาจจะให้เด็กไปหยิบกล่องจากกองทั้งหมดและดูสิว่า
         เหลือกล่องกี่ใบ
       
-  สอนเกี่ยวกับวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้หรือการรับรู้  ซึ่งเด็กจะเรียน
   รู้ผ่านการเล่น โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู  หูฟัง  ลิ้นรับรส  กาย
   สัมผัส  จมูกดม ในการหยิบจับหรือกระทำและจะต้องให้เด็กได้เล่นอย่าง
   อิสระ
-  การเล่นและการจัดประสบการณ์มีความแตกต่างกันตรงที่การเล่นเด็กจะ
   ได้รับอิสระอย่างเต็มที่  แต่การจัดประสบการณ์จะเป็นการจัดโดยครูผู้
    สอนเป็นผู้กำหนดหรือว่างไว้ให้กับเด็ก
-  หลักของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์
     1. ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
     2. การวางแผนของครู
     3. ลงมือกระทำเพื่อให้มีประสบการณ์เยอะๆ
-  อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 10 คน ให้แต่ละกลุ่มนำกล่องมาต่อกัน  โดย
   สองกลุ่มแรกมีเกณฑ์ดังนี้
    1. ห้ามปรึกษากัน
    2. ให้คนแรกต่อก่อนแล้วค่อยๆว่างไปเลื่อยโดยเจ้าตัวเป็นคนต่อเอง
   ส่วนสองกลุ่มสุดท้ายให้ช่วยกันวางแผนแล้วค่อยต่อ  จะเห็นได้ว่าเด็กได้
   รับอิสระจากการต่อ  รู้จักคิดที่จะแก้ไขปัญหาและเด็กยังได้อะไรที่เกี่ยว
   กับคณิตศาสตร์อีก เช่น รูปทรง  ตำแหน่ง  จำนวน  ทิศทาง เป็นต้น
 

 

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 29 พฤศจิกายน 2555

สรุปการเรียนการสอน

-  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาพูดในสิ่งที่กลุ่มของตนเองเขียนไปเมื่อ
   อาทิตย์ก่อน  โดยให้กลุ่มแรกพูดในห้วข้อการนับว่าจะสอนอย่างไรกับ
   เด็ก  และกลุ่มต่อๆไปก็พูดในเรื่องเดียวที่กลุ่มแรกพูดแต่ให้อยู่ในหัวข้อ
   ของกลุ่มตนเอ
-  อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกที่มีในวันนี้
-  อาจารย์ตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษาแต่ละคน

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤศจิกายน 2555

สรุปการเรียนการสอน

- วันนี้อาจารย์ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งมีดังนี้
   1. การนับ คือ การนับที่เราเห็นค่าว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง
   2. ตัวเลข คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า " เลขฮินดูอารบิก"
   3. จับคู่ คือ การใช้ทักษะการสังเกต  เช่น รูปทรง  ความเหมือน  รูปร่าง  
       ตัวเลขกับตัวเลข  จะนวนกับจำนวน เป็นต้น
   4. การจัดประเภท คือ การจัดหมวดหมู่ให้เข้ากลุ่มกัน
   5. การเปรียบเทียบ คือ การเปรียบสิ่งสองสิ่งขึ้นไป ส่วนใหญ่เด็กจะ
       เปรียบเทียบโดยใช้ทางตามากกว่า
   6. การจัดลำดับ คือ การจัดว่าอะไรมากอะไรน้อยหรืออะไรมาก่อนอะไร 
       มาทีหลัง
   7. รูปทรงและเนื้อที่ คือ รูปร่างของสิ่งของและเนื้อที่ของสิ่งนั้น
   8. การวัด คือ วัดเพื่อหาค่า  หาปริมาณ
   9. เซต คือ การจัดสิ่งที่เหมือนเข้ากลุ่มกันหรือสิ่งที่เชื่อมโยงกันเข้าพวก
       เดียวกัน
   10. เศษส่วน คือ ส่วนที่เหลือ ถ้าจะให้เด็กรู้เราก็ต้องให้เห็นทั้งหมดก่อน 
         แล้วแบ่งครึ่งออก ดูสิว่าเท่ากันหรือไมแล้วมีเศษเหลือหรือเปล่า
   11. การทำตามแบบหรือลวดลาย คือ การทำตามโดยมีข้อกำหนดที่
        ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
   12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ คือ ค่าคงที่เท่าเดิมถึงแม้
         จะเปลี่ยนรูปทรงหรือสิ่งที่ใส่
- อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กันแล้วร่วมกันเขียนกิจกรรมว่าจะจัดอะไรให้กับ
   เด็ก โดยมีเนื้อหาในขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ทั้ง12ข้อ
- อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนชื่อจริงแล้ววาดรูปที่เป็นสัญลักษณ์ของตนเองลงไปในกระดาษ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็จัดกลุ่ม  โดยใช้เกณฑ์อยู่สองเกณฑ์คือ กลุ่มที่มาก่อน8.30 น.และกลุ่มที่มาหลัง8.30 น. หลังจากนั้นก็ให้กลุ่มที่มาก่อน8.30 น. ไปติดที่กระดาน ซึ่งอาจารย์ก็สอนว่าก่อนเรียงลำดับเราต้องมีการนับก่อนแล้วจึงเรียงลำลับและเปรียบที่เป็นลำดับต่อมาแล้วค่อยนำตัวเลขมากำกับที่ป้ายชื่อ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤศจิกายน 2555

สรุปการเรียนการสอน

- วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์  จุดมุ่งหมายของ
   การสอนคณิตศาสตร์  ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์  ขอบข่ายคณิตศาสตร์
   โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คน  แล้วรวบรวมเนื้อหาที่แต่ 
   ละคนมีอยู่ว่ามีตรงไหนเหมือนกัน  แล้วร่วมกันสรุปออกมาเป็นของกลุ่ม 
   โดยกลุ่มของดิฉันสรุปได้ดังนี้

         ความหมายของคณิตศาสตร์
   คือ จัดเป็นภาษาแบบหนึ่ง  ที่ทำให้เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ให้   
   เห็นว่าสิ่งหนึ่งส่งผลต่ออีกอย่างหนึ่ง  เช่น  พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 
   สามารถเขียนได้  พื้นที่ = ความยาว x ความกว้าง  แต่ด้วยความเป็นนัก
   คณิตศาสตร์  เราจะเขียนว่า  a = L x W  และคณิตศาสตร์ยังเป็นการฝึก
   วินัยที่จะทำให้เป็นคนมีเหตุผลในการทำสิ่งต่างๆ
   มีผู้รวบรวมดังนี้ 1. น.ส.ศศิธร  แสงเภา   2. น.ส.ดาราวรรณ  น้อมกลาง  
   3. น.ส.นพมาศ   คำมั่น   4. น.ส.เพชรรัตน์   ภูดาษ 
   อ้างอิง มาจากหนังสือเรื่อง คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก762 ฉ2

        จุดมุ่งหมาย/เป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์
   - ให้เข้าใจในพื้นฐานของคณิต  รู้จักใช้ความคิดริเริ่ม  มีเหตุผล
   - เน้นการฝึกฝนให้เกิดทักษะ  การสังเกต  คิดอย่างมีเหตุผล  สื่อความ 
     หมายได้  มีความมั่นใจ  แม่นยำ  และรวดเร็ว
   - มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์และเห็นคนค่าของคณิตศาสตร์ในชีวิต
     ประจำวัน
   - เข้าใจความหมายของศัพท์และสัญลักษณ์เกี่ยวกับปริมาณ  กราฟ    
     ตาราง  รูปทรง  และการวัด
  - การสอนไม่ควรเป็นเพียงการบอก  ควรใช้คำถามช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้
     คิด
  อ้างอิง มาจากหนังสือเรื่อง การสอนคณิตศาสตร์  ของชมนาด  เชื้อสุวรรณทวี  หน้า7  ปีพ.ศ.2542  เลขเรียกหนังสือ  510.7  ช16ก  ฉ1
                                          คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา  ของวรรณี   ธรรมโชติ  ปีพ.ศ.2537  เลขเรียกหนังสือ 510.7  ว17ด  ฉ4
                                          เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์สำเร็จรูป  ของ รศ.วรรณี  โลมประยูร  ปีพ.ศ.2544  เลขเรียกหนังสือ 510.7  ว17ท  ฉ3
         
           ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
     คือ ในการสอนควรคำนึงถึงผู้เรียน  ผู้สอน  ตลอดจนวิธีการสอน เพื่อให้
     การสอนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้  และการสอนคณิตศาสตร์สามารถ
     พิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง
     อ้างอิง  มาจากหนังสือเรื่อง คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก762 ฉ2                                              คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก762 ฉ2

          ขอบข่ายคณิตศาสตร์
   - เซต คือ คำแต่ละคำบ่งถึงการอยู่รวมกันของสิ่งต่างๆและเรียกแต่ละสิ่ง
     ว่า "สมาชิกของเซต"
   - จำนวน  คือ  จำนวนนับต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
   - ตรรกศาสตร์  คือ การให้เหตุผล  ถึงวิธีการและหลักการที่ใช้ในการให้
      เหตุผล
   - การวัดการกระจายข้อมูล  คือ  การวัดการกระจายแบบสัมบูรณ์และ
     สัมพัทธ์  ซึ่งเป็นการกระจายความถี่
   อ้างอิง มาจากหนังสือเรื่อง คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก762 ฉ2
                                           การสอนคณิตศาสตร์  ของชมนาด  เชื้อสุวรรณทวี  หน้า7  ปีพ.ศ.2542  เลขเรียกหนังสือ  510.7  ช16ก  ฉ1
                                           คณิตคิดไม่ยาก  ของKeith  Gregson  หน้า4  ปีพ.ศ.2553  เลขเรียกหนังสือ 510  ก762 ฉ2

-  อาจารย์สอนร้องเพลงเก็บเด็กเข้ากลุ่ม โดยมีเนื้อหาดังนี้
                             กลุ่มไหนกลุ่มไหน     รีบเร็วไว
                             หากลุ่มพัน                อย่ามัวรอช้า
                             เวลาจะไม่ทัน            ระวังจะเดินชนกัน
                             เข้ากลุ่มพัน               ไวว่องไว

ภาพกิจกรรมในห้องเรียน



วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี  ที่  8  พฤศจิกายน 2555

สรุปการเรียนการสอน

-  วันนี้อาจารย์เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มนักเรียน  โดยใช้หลักคณิตศาสตร์มา
    ช่วยเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มเช่น  แบ่งเป็นสองกลุ่มก็อาจใช้วิธี ให้เด็ก
    นับหนึ่งสอง  ใครนับหนึ่งก็อยู่กลุ่มหนึ่ง  ถ้านับสองก็อยู่กลุ่มสอง  หรือใช้
    วิธีการจับสลากตังเลขหรือไม่ก็ใช้เกณฑ์ที่อยู่รอบๆตัวเรามาเป็นเกณฑ์
    ในการแบ่งกลุ่มก็ได้  และคณิตศาสตร์ก็เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเรา  ไม่
    ว่าจะเป็นในเรื่องของ ขนาด  จำนวน  
    ปริมาณ  ความจุ  รูปทรง  ตลอดจนการนับจนรู้ค่าที่แท้จริงออกมาเป็นตัว
    เลขหรือเรียกว่า  เลขฮินดูอาราบิก  และตัวเลขต่างๆที่เราใช้จะเรียกกันว่า
    สัญญาลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบว่าใหญ่หรือเล็ก  มาก  
    หรือน้อยเด็กจะต้องคำนวณออกมา  และการคำนวณตังเลขของเด็ก
    อนุบาลในแต่ละวัยมีระยะที่ไม่เหมือนกัน  จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็ก
    ด้วย  ถ้าเด็กที่มีอายุมากขึ้นมาก็สามารถอธิบายเหตุผลได้ว่าทำไมถึง
    แตกต่างกัน

-  อาจารย์ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุด
   ของมหาวิทยาลัย  โดยมีหัวข้อให้ดังนี้

      1. ให้ไปหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์  โดยให้เขียนชื่อ
           หนังสือ  ผู้แต่ง  ปีพ.ศ.  เลขหมู่หนังสือ
      2.  ให้หาความหมายของคณิตศาสตร์  และเขียนชื่อผู้แต่ง  ชื่อหนังสือ 
           หน้า  พ.ศ.
      3.  ให้หาจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์
      4.  ให้หาทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
      5.  ให้หาขอบข่ายคณิตศาสตร์เรื่องที่ว่าเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี  ที่ 1  พฤศจิกายน  2555

การเรียนการสอน

-  อาจารย์ร่วมกันวางข้อตกลงกับนักศึกษาในการเรียนวิชาการ
   จัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้

         1. เข้าเรียนวิชานี้ตอน 9.00 น.  หลังจากนี้ถือว่าสาย  ถ้ามาช้ากว่า
            15 นาทีถือว่าขาดเรียน 
         2. การแต่งกาย ต้องแต่งให้ถูกระเบียบและแต่ชุดมาเรียนให้เหมือน
             กันทุกคน
         3. หลังจากเรียนเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาไปทำบล็อกให้เรียบร้อย
             โดยอาจารย์จะเข้าไปตรวจดูในวันอาทิตย์ทุกสัปดาห์   
                                      
-  วันนี้อาจารย์อธิบายรายวิชาในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับ
   เด็กปฐมวัย โดยวิชานี้จะมีคำจำกัดความอยู่ 3 คำ ก็คือ การจัด
   ประสบการณ์   คณิตศาสตร์  และเด็กปฐมวัย  ซึ่งแต่ละตัวมีดังนี้
         1.  เด็กปฐมวัย  สิ่งที่เราต้องรู้ในตัวเด็กก็คือ พัฒนาการของเด็ก 
              และวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
              พัฒนาการของเด็ก จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่สามารถข้าม
              ขั้นได้  อาจจะช้าหรือเร็วต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆด้วย          
              ซึ่งประกอบด้วย สติปัญญา ของเด็ก
              มีตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี , 2 -6 ปี (จะแยกออกเป็นช่วง         
              คือ 2 - 4 ปี , 4 - 6  ปี )
              วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  โดย
              ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ( ตา  หู  จมูก ลิ้น  กาย )  หรือ การลง
              มือกระทำ
              การรับรู้ คือ ประสบการณ์ที่เด็กได้ลงมือกระทำโดยใช้
              ประสาทสัมผัสทั้งห้าและการเอาความรู้เดิมมาเชื่อมต่อความรู้
              ใหม่