คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่อง :  การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ของ  :  ขวัญนุช   บุญยู่ฮง


บทนำ
      การทำวิจัยเพื่อนำไปปฏิบัติการการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  โดยศึกษาจากกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เด็กจะต้องสามารถนับเลข  รู้ค่าจำนวน  จับคู่เปรียบเทียบ  และเรียงลำดับได้  แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะกรณีนักเรียนชั้นอ.1 และสังเกตพฤติกรรมขณะการสอนของครู  การสนทนาร่วมกับผู้ปกครอง  พบว่า  เด็กยังไม่มีทักษะคณิตศาสตร์ดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติ การนี้มาใช้ในการแก้ปัญหา  โดยนำนิทานคณิตศาสตร์มาเป็นสื่อการเรียนการสอน  เนื่องจากเนื้อหาวิชาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจไม่มีแรงจูงใจให้เด็กอยากเรียน  นิทานจะช่วยให้เด็กได้เพลิดเพลินและเรียนรู้ไปด้วยความสนุกสนานและยังเป็นการสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
         
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
     เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยใช้นิทานตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลา

วิธีการดำเนินการวิจัย
      กลุ่มเป้าหมายของวิจัย
              นักเรียนอนุบาล1/1  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์  อำเภอเมืองบึงกาฬ  จังหวัดบึงกาฬ  จำนวน 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
               1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
               2. แบบประเมินควาต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษณะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
               3. แผนการจัดประสบการณ์  โดยใช้นิทานจำนวน 18 แผ่น
               4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจักประสบการณ์

สรุปผลวิจัย
      จากการศึกษาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ขอเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน  "คณิต"
พบว่า  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีในสำคัญทางสถิติระดับ .01 และยังพบว่าเด็กกลุ่มทดลองได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สัมพันธ์กับหนังสือสำหรับเด็กและช่วงเล่นอิสระได้เล่นกับสื่อวัสดุทางคณิตศาสตร์ที่ไม่สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ในหนังสือสำหรับเด็ก  มีผลสัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างมีในสำคัญทางสถิติ  โดยที่กลุ่มการทดลองมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม  ในด้านการจำแนก  การรวมกันของจำนวน  เรื่องของรูปทรง  และกลุ่มทดลองชอบเข้ามุมคณิตศาสตร์  เลือกทำงานด้านคณิตศาสตร์  และใช้เวลาในการทำกิจกรรมในมุมคณิตศาสตร์มากกว่ากลุ่มควบคุม
              

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดี ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556

สรุปการเรียนการสอน

- วันนี้อาจารย์ให้ไปที่ลานแดง เพื่อไปฟังในเรื่องการส่งเสริมการใช้แก้วน้ำ
   ประจำตัวและร่วมสนุกกับกิจกรรม
- วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือออกมาสาธิตการสอน
        - กลุ่มแรกเป็นเรื่องผม วันจันทร์สอนลักษณะของผม
                                         วันอังคารสอนหน้าที่ของผม
                                         วันพุธสอนประโยชน์และข้อควรระวัง
                                         วันพฤหัสบดีสอนการดูแลรักษา
                                         วันศุกร์สอนอาชีพ 
            -กลุ่มที่สองเรื่องสัตว์ทะเล โดยอาจารย์แนะนำว่าวันแรกควรจะถาม
          เด็กๆว่า เด็กรู้จักสัตว์น้ำในทะเลอะไรบางค่ะ
- อาจารย์ให้ดูตารางการนำเสอนข้อมูล


ครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดี ที่ 7 กุมภาพันธ์  2556

สรุปการเรียนการสอน

- วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอน
   วันนี้เป็นเรื่องต้นไม้ 
โดยวันจันทร์สอนเรื่องชนิดต้นไม้ และใช้คำถามว่า "บ้านใครปลูกต้นไม้อะไรกันบ้าง"
      วันอังคารสอนเรื่องลักษณะต้นไม้  โดยครูนำต้นไม้จริงมาให้เด็กดู  แล้วถามว่าเมื่อวานเด็กรู้จักต้นไม้อะไรบ้าง มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้เลื้อย  เด็กๆคิดว่าวันนี้ครูนำต้นอะไรมาให้เด็กดู หลังจากนั้นก็ให้เด็กสังเกต  แล้วนำมาทำเป็นตารางวิเคาะห์ข้อมูล
      วันพุธสอนเรื่องส่วนประกอบของต้นไม้  โดยเริ่มจากทบทวนของเมื่อวาน  แล้วก็วาดภาพต้นไม้ให้เด็กดู  แล้วโยงส่วนต่างของต้นไม้ให้เด็กเห็น  หลังจากนั้นก็ถามเด็กว่ารากทำหน้าที่อะไร  แล้วเหมือนเด็กๆตรงไหน

                                   ตัวอย่างการแสดส่วนประกอบของต้นไม้
     วันพฤหัสบดีสอนเรื่อง ประโยชน์ของต้นไม้ โดยเล่าเรื่องเป็นนิทานให้เด็กฟัง
     วันศุกร์สอนเรื่องอันตรายจากต้นไม้  เราก็ถามเด็กๆว่าเด็กๆเคยได้รับอันตรายอะไรจากต้นไม้บ้าง  หรือพาเด็กไปดูของจริง

ครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่ 31 มกราคม 2556

สรุปการเรียนการสอน

       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มแรกออกมาสาธิตการสอน  ซึ่งกลุ่มแรกออกมาสอนเรื่อง ดิน
วันแรกสอนในเรื่อง ชนิดของดิน  ถามเด็กว่า" เด็กๆเคยเล่นดินกันไม่ เด็กๆว่ามีดินอะไรบ้าง เวลาที่เด็กตอบเราก็เขียนบนกระดานและใส่เลขกำกับ หลังจากนั้นก็ให้เด็กนับว่ามีกี่อย่าง ใส่เลขแทนค่า หลังจากนั้นก็ถามเด็กต่อไปอีกว่า วันนี้ครูนำดินมาให้เด็กๆดูกี่ชนิด และไรบ้าง
วันที่สองในเรื่อง  ลักษณะของดิน  เริ่มด้วยการทบทวน แล้วถามเด็กๆว่าดินที่เด็กเคยเห็นมีสีอะไรบ้าง   นำดินเหนียว  ดินทราย  ดินร่วนให้เด็กๆดูและสัมผัส และถามเด็กว่าดินเหนียวมีสีเป็นอย่างไร  ลักษณะของดิน พอเวลาเด็กตอบเราก็นำไปใส่ลงในตารางเปรียบเทียบ
วันที่สามในเรื่อง ส่วนประกอบของดิน  ทบทวนของเดิม  แล้วถามเด็กว่าเด็กๆเคยเห็นอะไรบ้างที่อยู่ในดิน   หรือครูส่งดินที่กิ่งไม้แล้วให้เด็กดู  หลังจากนั้นก็ทำเป็นตารางเปรียบเทียบให้เด็กดู
วันที่สี่ในเรื่อง  ประโยชน์ของดิน  ทบทวบของเดิม  แล้วถามว่า เด็กว่าดินมีประโยชน์อะไรบ้าง  หลังจากนั้นก็เล่านิทานให้เด็กฟัง โดยนำเนื้อหาของคณิตศาสตร์เข้าไปเป็นส่วนประกอบของเรื่อง
วันที่ห้าในเรื่อง  ข้อควรระวัง  ทบทวนของเดิม  เล่านิทานให้เด็กฟัง  หรืพาเด็กไปดูของจริงก็ได้
        และอาจารย์ยังได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสอนดังนี้
1. เวลาที่สอนทั้งห้าวันไม่จำเป็นต้องสอนเรื่องการนับทั้งห้าวัน
2. เวลาก่อนสอนแต่ละวันควรทบทวนเรื่องที่เรียนไปเมื่อวานก่อน
3. ถ้าสอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังควรนำนิทานเข้ามาช่วนในการ
    สอน  เพราะเด็กจะเข้าใจได้ง่ายกว่า  โดยสามารถนำเรื่องของคณิตเข้า
   ไปในเรื่องได้ เช่น ในเรื่องของตำแหน่ง  ทิศทาง  รูปทรง  เป็นต้น
4. เวลาเขียนไปกระดานควรเขียนให้เป็นระเบียบเป็นแถว  เช่น  เขียนจาก
    ซ้ายไปขวา  บนลงล่าง  ถ้าทำเป็นมายแม็ปก็ให้วนขวาไปเลื่อยๆ
5. เวลาเขียนบนกระดานไม่ควรหันหลังให้เด็ก  ควรที่จะเอียงตัว


ภาพขนาดกำลังสาธิตการสอน


ภาพขนาดอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะการสอน

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่13

วันพฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2556

สรุปการเรียนการสอน

-  วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการเลือกหน่วยสอนเด็ก  เราจะต้องยึดหลักในการ
   เลือก คือ เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวัน  เป็นเรื่อง
   ที่เด็กมีประสบการณ์  เป็นเรื่องที่อยู่ในท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่  เป็นต้น 
   หลังจากได้เรื่องมา  เราต้องดูว่าเราจะให้เด็กรู้อะไรในหน่วยนั้น    

-  วิธีที่ทำให้เด็กเห็นประโยชน์ของหน่วยนั้นที่เราสอน  เราจะต้องอธิบาย
    ออกมาเป็นนิทาน  โดยการเล่าเรื่องออกมาเชื่อมโยงในหน่วยที่เราต้อง
    การให้เด็กรู้

-  ประสบการณ์มีความสำคัญกับเด็ก  เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาท
   สัมผัสทั้ง5  เพราะการลงมือกระทำเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  และที่
   สำคัญเด็กจะมีความสนใจเพียง 20 นาทีเท่านั้น

ครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 17 มกราคม 2556

สรุปการเรียนการสอน


-  วันนี้อาจารย์ในเรื่องของการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก  ว่าเราต้องคำนึงถึง
   หลักในการจัดอยู่ 2 อย่างคือ สาระสำคัญและประสบการสำคัญ  ซึ่งจะ
   ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก  และมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันของ
   เด็ก  และที่สำคัญเราจะต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำ  ที่สำคัญเราต้อง
   คำนึงถึงเด็กว่าต้องใช้ของจริง  ใช้สัญลักษณ์เป็นหลัก
-  การที่เราจะนำเสนอข้อมูล  เราจะต้องทำเป็นกราฟรูปภาพ  เพื่อที่จะให้
   เด็กได้เห็นถึงความแตกต่างและเด็กยังสามารถเข้าใจได้ง่ายอีกด้วย

ภาพการแสดงกราฟ

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี  ที่  10  มกราคม  2556
สรุปการเรียนการสอน
- อาจารย์พูดถึงเรื่องจัดงานปีใหม่ของปี2อย่างเดียว  โดยจะจัดในวัน 
  พุธที่ 23 มกราคม 2556 เวลา5โมงเย็น  และในวันนั้นมีการจับฉลาก
  ด้วย  โดยให้นักศึกษาเตรียมมาและกำหนดราคาของขวัญคนละ 100
  บาทขึ้นไป
-  สอนในเรื่องของการแตกMind Mapping คือ การแตกสาระเนื้อหา  
   โดยคิดวิเคราะห์  ส่วนการลงมือกระทำเป็นวิธีการเรียนรู้   และ
    ประสบการณ์การณ์สำคัญเป็นทักษะของการลงมือกระทำ

-  Mind Mapp การสอนเรื่องดินที่กลุ่มของดิฉันช่วยกันทำ





ครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี  ที่ 3 มกราคม  2556
สรุปการเรียนการสอน
      การะดาษลังที่ตัดมาในขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส  สามารถนำมาสอนในเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ เช่น รูปทรง  พื้นที่  การนับ  เป็นต้น  และอาจารย์ยังสมมุติตัวอย่างของการหาพื้นที่ของหน้าจอทีวี  โดยนำแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4x4" มาวางว่าจะได้ออกมากี่แผ่น ก็จะได้พื้นที่ของหน้าจอทีวีออกมาเป็นตารางนิ้ว
      อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับคู่สองคน  แล้วนำกระดาษลังมารวมกันและให้ช่วยกันทำ  โดยให้ตัดแผ่นกระดาษขนาด8x8" ให้เหลือ6x6" แล้วนำกรอบที่ตัดไปแปะกับกระดาษขนาด 8x8" ส่วนกระดาษลังขนาด6x6" ให้ตัดแบ่งครึ่งแบบเฉียง ตรง ตัดสี่ช่องก็จะได้ออกมาเป็นดังรูป

 

ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 27  ธันวาคม  2555
 
 
สรุปการเรียนการสอน
 
 
        อาจารย์ได้สั่งงานให้นักศึกษาตัดกระดาษลังมาในขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4x4"  , 6x6"  , 8x8" มาอย่างละหนึ่งอัน แล้วสัปดาห์หน้าให้นำมา